วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศ

หลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศ

ความรู้ทางการเมืองการปกครอง หลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศ หรือการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้น ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ มีอยู่ 3 หลักการด้วยกัน คือ
          1.หลักการรวมอำนาจ (Centralization)
          2.หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentralization)
          3.หลักการกระจายอำนาจ(Decentralization)
          การรวมอำนาจ เป็นหลักการปกครองที่รวมอำนาจที่สำคัญไว้ในส่วนกลาง อำนาจดังกล่าว ได้แก่การวินิจฉัยสั่งการและการบังคับบัญชา ซึ่งผลในการสั่งการจะมีอำนาจครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง หรือรัฐบาลกลาง ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
          ลักษณะสำคัญของการวมอำนาจ มี 5 ประการ คือ
          1.กำลังทหารและตำรวจขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
          2.การวินิจฉัยสั่งการขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
          3.มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
          4.ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ
          5.อำนาจในการต่างประเทศ ส่วนกลางเป็นผู้กำหนด
          ข้อดีของหลักการรวมอำนาจ
          1)ทำให้เกิดความมั่นคง
          2)ทำให้เกิดการประหยัด
          3)สามารถบริการประชาชนโดยเสมอหน้า
          4)ทำให้เกิดเอกภาพ(Unity) ในทางปกครอง
          ข้อเสียของหลักการรวมอำนาจ
          1.ไม่สามารถดำเนินกิจการทุกอย่างให้ได้ผลดีทั่วท้องที่ได้ในขณะเดียวกัน
          2.ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยสั่งการ
          3.ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย
          4.ไม่อาจสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
          การแบ่งอำนาจ หมายถึงการบริหารราชการ ที่ส่วนกลางได้จัดแบ่งอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการบางส่วน หรือบางขั้นตอนไปให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานของตน ซึ่งออกไปประจำอยู่ในเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ ให้วินิจฉัยสั่งการได้เองตามระเบียบแบบแผนที่ส่วนกลางกำหนดไว้ การแบ่งอำนาจทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
          ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจ
          1.ต้องมีราชการบริหารส่วนกลาง
          2.ต้องมีเจ้าหน้าที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง
          3.ส่วนกลางแบ่งอำนาจให้ส่วนภูมิภาค
          ข้อดีของการแบ่งอำนาจ
          1)เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การกระจายอำนาจ
          2)ทำให้ส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นมีการประสานงานกันดี
          3)ทำให้การปฏิบัติราชการรวดเร็วยิ่งขึ้น
          4)มีประโยชน์สำหรับประเทศที่ประชาชนยังขาดสำนึกในการปกครองตนเอง
          ข้อเสียของการแบ่งอำนาจ
          1)เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
          2)ก่อให้เกิดความล่าช้า
          3)ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ท้องถิ่น
          การกระจายอำนาจ หมายถึง การโอนอำนาจในทางการปกครองจากส่วนกลางบางอย่าง ไปให้ประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการเอง โดยมีอิสระพอสมควร ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย การกระจายอำนาจทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
          ลักษณะสำคัญของการกระจายอำนาจ
          1.เป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
          2.มีสภาและผู้บริหารระดับท้องถิ่น
          3.มีอิสระในการปกครองตนเอง (อยู่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด)
          4.มีงบประมาณและรายได้ของตนเอง
          5.มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของตนเอง
          อนึ่ง หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น มิได้เป็นหน่วยภายใต้บังคับบัญชาของส่วนกลางเหมือนการปกครองส่วนภูมิภาค
          ข้อดีของหลักการกระจายอำนาจ
          1)สามารถสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น
          2)เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง
          3)กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
          ข้อเสียของหลักการกระจายอำนาจ
          1)อาจเป็นภัยต่อเอกภาพทางการปกครองและความมั่นคงของประเทศ
          2)ทำให้ราษฎรเพ่งเล็งเห็นประโยชน์ของท้องถิ่นสำคัญกว่าส่วนรวม
          3)เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งอาจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่เหมาะสม
          4)ย่อมทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากกว่า

กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

      กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
      กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี                ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้

บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
   1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
          ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
            1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
            2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
            3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
            4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
    2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น


ทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
     ประเภทของทรัพย์สิน
        1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
        2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้


นิติกรรม
      นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
     1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
     3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย

นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
     1. นิติกรรมที่เป็น  โมฆะ    คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
     2. นิติกรรมที่เป็น  โมฆียะ    คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
        นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ


สัญญาต่าง ๆ

ประเภทของสัญญา

      สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
      1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
      2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
      3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว

      สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
      1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
      2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
      3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก          และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน          ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
      4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
               - ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
               - ผู้ทอดตลาด
               - ผู้สู้ราคา
               - ผู้ซื้อ

      สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
      1. สัญญาเช่าทรัพย์
            - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
            - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
      2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ         โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย

      สัญญากู้ยืมเงิน
             เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ


กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

      การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
      การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
      1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
      2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
      1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
      2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
      3. การหย่า

- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน


กฎหมายเรื่องมรดก
   มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
   ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
         1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
         2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้

   พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์


กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
   1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ

2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม

3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
       - เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
       - เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
       - เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน

4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
       - บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ  ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี  ต้องขอมีบัตรประชาชน
       - การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น         
       - บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
         บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป

5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
       - ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
       - เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
        *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ       บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้

6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
      - พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
      - พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
      - พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522

กฏหมายแพ่งและอาญา

กฎหมายอาญา (อังกฤษ: Criminal law) เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
  1. กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
  2. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
  3. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
  4. กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
  5. ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 ประเภทของความผิด

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ
  1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

 ลักษณะของการเกิดความผิด

กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ
  1. ความผิดโดยการกระทำ
  2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
  3. ความผิดโดยการละเวsmaol;joejl jkuwa kluiopaw kkjf iowenl iohrkquf mkod mki8e4mp

   สภาพบังคับของกฎหมายอาญา

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม




 เขตอำนาจศาลของไทยในคดีอาญา

 เขตอำนาจระหว่างประเทศ

 เขตอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา

 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา

โครงสร้างความรับผิดทางอาญาเป็นโครงสร้างที่ใช้พิจารณาความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำว่ามีความผิดมีโทษหรือไม่ประการใด สำหรับโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของไทยนั้นยังไม่ปรากฏรูปแบบที่แน่ชัดอันเป็นที่ยอมรับกันได้ทั่วไปเนื่องจากปัญหาความแตกต่างเกี่ยวกับแนวคิดในทางวิชาการ สำหรับโครงสร้างทางอาญาดังต่อไปนี้ก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในหลายๆรูปแบบที่ใช้ในการอธิบายโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของไทยเท่านั้น
โครงสร้างความรับผิดทางอาญาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นในการพิจารณาได้แก่
  1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
  2. อำนาจกระทำ (กฎหมายยกเว้นความผิด)
  3. กฎหมายยกเว้นโทษ (เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ)


 โครงสร้างที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบ

  1. มีการกระทำ (ม.59) คือ เคลื่อนไหว หรือ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
  2. ครบองค์ประกอบภายนอกของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น
  3. ครบองค์ประกอบภายในของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น
  4. ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทำและผล
    1. ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ถ้าผลนั้นเป็น “ผลโดยตรง” (ทฤษฎีเงื่อนไข) มาจากการกระทำของผู้กระทำ คือ ถ้าไม่ทำ ผลไม่เกิด ผลที่เกิดนั้นถือว่าเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ แต่ถ้าไม่ทำผลก็เกิด ผลที่เกิดไม่ใช่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ
    2. ถ้าผลแห่งการกระทำทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายก็ต่อเมื่อ ผลนั้นเป็น “ผลโดยตรง” และเป็น “ผลธรรมดา” (ม.63) ”ผลธรรมดา” คือ ผลที่ผู้กระทำคาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั้น ไม่จำต้องถึงขนาดเล็งเห็นผล ระดับการวินิจฉัยคือ “วิญญูชน” หากวิญญูชนไม่สามารถคาดเห็นได้ แม้ผู้กระทำจะคาดเห็นได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
    3. ถ้าผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นโดยมีเหตุแทรกแซง (คือ:เหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการกระทำของผู้กระทำในตอนแรก และเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น) ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ก็ต่อเมื่อเหตุแทรกแซงนั้นเป็นสิ่งที่ “วิญญูชน” คาดหมายได้ แต่ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลาย แต่ต้องรับผิดเพียงเท่าที่ตนได้กระทำไปแล้วก่อนมีเหตุแทรกแซง

 โครงสร้างที่ 2 อำนาจกระทำ

  1. การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 68)
  2. ความยินยอมของผู้เสียหาย

 โครงสร้างที่ 3 กฎหมายยกเว้นโทษ

หลักกฎหมายยกเว้นโทษนั้น เป็นกรณีที่มีการกระทำอันเป็นความผิดเกิดขึ้นแล้วแต่กฎหมายไม่ประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนั้น เช่น กรณีตาม ป.อ.มาตรา 67 เป็นเรื่องของ การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น หากการกระทำนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้นถือว่าได้กระทำความผิดแล้ว แต่กฎหมายไม่ประสงค์จะลงโทษ เนื่องจากเป็นการกระทำเพราะความจำเป็นเพื่อให้ตนหรือบุคคลอื่นพ้นจากภยันตรายอันใกล้จะถึงและไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้


 เหตุลดโทษ



       ตอนที่  1  เหตุที่ลดโทษโดยทั่วไป   แบ่งออกเป็น  7 ส่วน
             ส่วนที่1  ความไม่รู้กฎหมาย   
             ส่วนที่2  คนวิกลจริต  ซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง  หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
             ส่วนที่3  คนมึนเมา  ซึ่งยังสามารถรู้ผิชอบอยู่บ้าง  หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
             ส่วนที่4  ป้องกัน  จำเป็น  เกินขอบเขต
             ส่วนที่5  การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินบางมาตรา (ระหว่างญาติสนิท)
      ส่วนที่6  ผู้กระทำความผิดอายุ 14 ปี  แต่ไม่เกิน 17 ปี   หรือเกิน  17 ปี  แต่ไม่เกิน  20 ปี
             ส่วนที่7  เหตุบรรเทาโทษ
               ตอนที่  2      เหตุที่ลดโทษเพราะบันดาลโทสะ
กฎหมายแพ่ง (อังกฤษ: Civil law) 
เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ
สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม 
ละเมิด เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก

ความหมาย ความสำคัญ ที่มา ประเภทองค์ประกอบของกฏหมาย

ความหมายของกฏหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของกฏหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย
"กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
ดร.สายหยุด แสงอุทัย
"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย
ลักษณะสำคัญของกฏหมาย
กฏหมายมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.กฏหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  • บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด
  • บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาขน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
2. กฏหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฏหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฏหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกาและกฏกระทรวง
3. กฏหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม
4. กฏหมายมีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก
5. ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่
  • ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน
  • วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญากำหนดไว้ 5 ประการ คือ การกักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
  • กฏหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ กฏหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช
  • พนักงานของรัฐเป็นผู้บังคับให้เป็นไปตามกฏหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฏหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต้น
ที่มาของกฏหมาย
แหล่งที่มาของกฏหมายมีอยู่มากมายหลายทาง และมีวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทังนี้สามารถแบ่งแหล่งที่มาของกฏหมายได้ดังนี้
  • จารีตประเพณี เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องของการยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
  • การออกกฏหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการปกครองระบอบราชาธิปไตย การออกกฏหมายจะเป็นพระบรมราชโองการของกษัตริย์ ต่อมาอำนาจในการออกกฏหมายเป็นของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือ สถาบันรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติ ปัจจุบันรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นแหล่งออกกฏหมายโดยตรง
  • คำสั่งและกฤษฏีกาที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เป็นกฏหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกมาบังคับใช้
  • คำพิพากษาของศาล คำพิพากษาของศาลคือแหล่งที่มาของกฏหมายนั้นๆ เช่น กรณีที่ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เมื่อมีคดีลักษณะเช่นเดียวกันเกิดขึ้นมาอีก ผู้พิพากษาจะยึดเอาคำตัดสินที่แล้วมาเป็นหลัก
  • ความคิดเห็นของนักวิชาการ นักวิชาการกฏหมายมีส่วนช่วยให้เกิดกฏหมายใหม่ๆ ขึ้นบังคับใช้ในสังคม หรือนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายต่างๆ ทีไม่มีความยุติธรรมหรือไม่มีความเท่าเทียมกันในสังคม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฏหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 20 ปี เป็น 18 ปี ฯลฯ
จุดประสงค์และความสำคัญของกฏหมาย
จุดประสงค์ของการบัญญัติกฏหมายขึ้นมาก็เพื่อ จัดระเบียบให้กับสังคม ทั้งยังช่วยรักษาความมั่นคงให้รัฐ ระงับข้อพิพาท ประสานผลประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า โดยใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาระเบียบของสังคม เมื่อสังคมมีระเบียบจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
จากจุดประสงค์ของการบัญญัติกฏหมายขึ้นมาข้างต้น สามารถสรุปความสำคัญของกฏหมายได้ดังนี้
  • เป็นเครื่องมือในการควบคุมและกำหนดแนวทางพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นระเบียบและเพื่อความสงบเรียบร้อย
  • เป็นเครื่องมือในการกำหนดและปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแก่ประชาชนในรัฐ
  • เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ภายในรัฐ
  • เป็นเครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยและปกป้องอันตรายและภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับสังคมหรือรัฐ
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรือง
ประเภทของกฏหมาย
การแบ่งประเภทของกฏหมายโดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฏหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏหมายระหว่างประเทศ
กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
2. กฏหมายภายในประเทศ เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชน
  • กฏหมายมหาชน หมายถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ
    • รัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ
    • กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ
    • กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน
    • กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล
    • พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด
  • กฏหมายเอกชน เป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
    • กฏหมายแพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
    • กฏหมายพาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่ง
    • กฏหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง
    สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฏหมาย ได้แก่
    ประชาชน ได้แก่ ผู้กระทำผิด หรือผู้เสียหาย ดังนั้นประชาชนต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจ ได้แก่ เจ้าพนักงานที่กฏหมายให้อำนาจและหน้าที่ในการใช้กฏหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
    พนักงานฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน จับกุม ป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำผิด ตำรวจ ตามประมวลกฏหมายอาญา ตำรวจมีหน้าที่สืบสวน จับกุม สอบสวน เปรียบเทียบปรับ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมบุคคลที่ทำความผิดทางแพ่ง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจจับกุม ป้องกัน ปราบปรามการกระทำผิดตามกฏหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง เช่น พนักงานป่าไม้ ตำรวจศุลกากร เป็นต้น
    พนักงานอัยการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสมควรฟ้องหรือไม่ในคดีอาญา และทำหน้าที่เป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความให้ส่วนราชการในคดีแพ่ง ทนายความ คือ นักกฏหมายที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาต โดยมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากฝ่ายโจทย์หรือจำเลยเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา ศาลยุติธรรม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษา ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ผู้พิพากษาชั้นต้น ผู้พิพากษาชั้นอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลฏีกา พนักงานบังคับคดีและพนักงานราชทัณฑ์ มีหน้าที่บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล
ความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้กฏหมาย
ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกของสังคมจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้ ทำความเข้าใจในกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราและสังคมที่เราอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งได้แก่
    รู้จักระวังตน ไม่เผลอหรือพลั้งกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว เนื่องมาจากเพราะไม่รู้กฏหมาย และเป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษตามกฏหมาย ไม่ให้ถูกผู้อื่นเอาเปรียบและถูกฉ้อโกงโดยที่เราไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย ก่อเกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ถ้าหากรู้หลักกฏหมายที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของตนเองแล้วย่อมจะป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากความไม่รู้กฏหมายในอาชีพได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองการปกครองของประเทศ เพราะเมื่อประชาชนรู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนเองตามกฏหมายแล้ว ย่อมทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อย ในชีวิตประจำวันบุคคลมีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตามระบบการเมือง การปกครอง ระบบกฏหมายและระบบเศรษฐกิจ เราจะต้องรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเองและรู้จักใช้สิทธิที่มีอยู่ไปประกอบอาชีพและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ โดยมีสิทธิเลือกได้ว่าจะดำเนินชีวิตส่วนตัวอย่างไร แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตที่กฏหมายกำหนด บุคคลจึงต้องขวนขวายหาความรู้เกี่ยวกับกฏหมายเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารการดำเนินวิถีชีวิตประจำวัน